เมนู

ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนสิ้นอายุแล้ว บังเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกแล้วปริ-
นิพพาน ผู้นี้แหละพึงทราบว่าท่านถือเอาในคำนี้.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กเรยฺยํ ความว่า เราพึงทำการกำหนดวัฏฏ-
ทุกข์.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะให้ตนเป็น
เช่นนี้ พึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ 11


[ 84 ] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ 11 ต่อไป
บทว่า ปญฺจนฺนํ เป็นการกำหนดด้วยการนับ.
บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ความว่า ภายใต้ ท่านเรียกว่า โอระ.
ได้แก่ส่วนเบื้องล่าง อธิบายว่า มีการบังเกิดขึ้นในโลกฝ่ายกามาวจรเป็น
ปัจจัย.
บทว่า สํโยชนานํ ได้แก่กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องผูก
เหล่านั้นพึงทราบว่า ได้แก่สังโยชน์ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกาลก่อน (คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ) พร้อมด้วยสังโยชน์ คือกาม.
ราคะ. และพยาบาท. ความจริง สังโยชน์เหล่านั้นผู้ใดยังละไม่ได้ แม้
ผู้นั้นจะบังเกิดขึ้นในภวัคคพรหมก็จริง ถึงกระนั้นเขาก็ย่อมบังเกิดใน
กามาวจรอีก เพราะสิ้นอายุ บุคคลนี้พึงทราบว่ามีอุปมาเสมอด้วยปลาติด
เบ็ด และมีอุปมาเหมือนนกตัวถูกด้ายยางผูกติดไว้ที่ขา. ฉะนั้น ก็ใน
อธิการนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนา
พระอริยบุคคลซึ่งท่านกล่าวไว้แต่แรก ๆ.

คำว่า โอปปาติโก เป็นคำกล่าวคัดค้านกำเนิดที่เหลือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพายิ ความว่า ปรินิพพาน
ในพรหมโลกนั้นนั่นเอง.
บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ความว่า มีการไม่กลับ
มาจากพรหมโลกนั้นด้วยอำนาจปฏิสนธิอีกเป็นสภาพ.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะเป็นเช่นนี้
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ 12


[85] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคามิมรรคอย่างนี้แล้ว แม้
จะมาถึงวาระแห่งมรรคที่ 4 ก็จริง ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่
ทรงถือเอาอรหัตตมรรคนั้น เพราะไม่เพียงแต่อภิญญา คือการสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอานิสงส์ของศีลอย่างเดียว ที่แท้อภิญญา 5 ประการ ซึ่งเป็น
โลกิยะ (ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน ) ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดง
อภิญญาเหล่านั้น และเพราะเมื่อพระองค์ตรัสถึงการสิ้นไปแห่งอาสวะ
เทศนาก็เป็นอันจบ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ การกล่าวนี้พึงชื่อว่ากล่าวถึงอภิญญา
ล้วน เพราะยังมิได้กล่าวถึงคุณของอภิญญาเหล่านั้น ฉะนั้น เพื่อจะทรง
แสดงอภิญญาอย่างบริบูรณ์ และเพราะการทำฤทธิ์ ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในอันาคามิมรรคโดยง่าย และพระอนาคามีย่อมเป็นผู้กระทำให้
บริบูรณ์ในศีลและในสมาธิ เพราะท่านถอนกามราคะและพยาบาทซึ่งเป็น
ข้าศึกของสมาธิได้แล้ว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงโลกิยอภิญญาทั้งหลาย ใน
ฐานะอันควร พระองค์จึงตรัสคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อากงฺเขยฺย เจ ฯเปฯ